สาราณียธรรม 6

โสภณ จาเลิศ
สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน, ธรรมอันเป็นไปเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกที่ดี
ให้เกิดขึ้นต่อกัน
จนก่อให้เกิดเป็นความสามัคคี กัลยาณมิตร กล่าวว่า (1) ถ้าหากทุกคนในสังคมเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ เข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างของกันและกัน เคารพในกฎกติกาเดียวกัน รู้จักแบ่งปัน
ช่วยเหลือกัน ให้กำลังใจซึ่งกันและกันและรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา สังคมของเราก็จะมีความอบอุ่นและน่าอยู่
เต็มเปียมไปด้วยความสุข
สิ่งดังกล่าวมานี้สามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการ
เสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในสังคม
เรื่องของความสามัคคีนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสถึงหลักธรรมที่เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคี
ให้เกิดขึ้นในหมู่คณะในสังคมไว้ 6 ประการ จัดอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่าสาราณียธรรม 6
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) (2) ได้กล่าวถึง สาราณียธรรม 6 ว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน, ธรรมที่ทำให้เกิดความสามัคคี, หลักการอยู่ร่วมกัน มี 6 ประการ ได้แก่
1. เมตตากายกรรม ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลังช่วยเหลือกิจธุระต่าง ๆ ของหมู่คณะด้วยความเต็มใจ แสดงอาการกิริยาสุภาพต่อกัน เคารพนับถือกัน
2. เมตตาวจีกรรม ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์
สั่งสอน
แนะนำ ตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าหรือลับหลัง
3. เมตตามโนกรรม ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำ
สิ่งที่เป็น
ประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีความยิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน
เรื่องของเมตตานี้ Thaihealth.com (3) กล่าวไว้ว่า ยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) เมตตาแท้ คือ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุขอย่างแท้จริง อันประกอบขึ้นจากใจที่บริสุทธิ์ไม่แอบแฝง
ด้วยเพียงหวังประโยชน์แก่ตน
2) เมตตาเทียม คือ การแสร้งทำด้วยความปรารถนาหรือความประสงค์ที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข อันประกอบขึ้นจากใจ
ที่มุ่งหวังประโยชน์แก่ตน
เมื่อได้กล่าวถึงประเภทของเมตตาแล้ว ก็ใคร่ขอกล่าวถึงประเภทของ มุทิตา เพิ่มเติมสักเล็กน้อย ซึ่ง Thaihealth.com ได้กล่าวว่า
มุทิตา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) มุทิตาแท้ คือ การทำใจยินดี และแสดงออกถึงความยินดีต่อความสุข และการพ้นจากทุกข์ของผู้อื่นด้วยจิตอัน
บริสุทธิ์
มิใช่แกล้งทำเพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อหรือหวังประโยชน์จากเขา
2) มุทิตาเทียม คือ การแสร้งทำใจยินดีหรือแกล้งแสดงออกถึงความยินดีต่อความสุข และการพ้นจากทุกข์ของผู้อื่น
เพียงเพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อหรือจะได้รับประโยชน์จากเขา
4. สาธารณโภคี หรือ สาธารณโภคิตา ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือเมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของ
เล็กน้อย
ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน
5. สีลสามัญญตา มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ
6. ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฏฐิดีงามเสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา
เอกสารอ้างอิง
กัลยาณมิตร. สาราณียธรรม 6 (วิธีสร้างความสามัคคี 6 ประการ) [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://kalyanamitra.org
/th/article_detail.php?i=15409 [10 พ.ย. 2561].
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2556. หน้า 200 201.
Thaihealth.com. พรหมวิหาร 4 ประการ และแนวทางปฏิบัติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://thaihealthlife.com/
พรหมวิหาร4/ [10 พ.ย. 2561].

อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาท่าน
โปรดประเมินความพึงพอใจ จากการอ่านเรื่องนี้
โดยคลิก URL ข้างล่างนี้ จะเป็นพระคุณยิ่ง
คลิกที่นี่ครับ
เชิงอรรถ
(1)กัลยาณมิตร, สาราณียธรรม 6 (วิธีสร้างความสามัคคี 6 ประการ), [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=15409 [10 พ.ย. 2561]. (กลับที่ดิม)
(2)พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 24, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา, 2556.) หน้า 200 201. (กลับที่ดิม)
(3)Thaihealth.com. พรหมวิหาร 4 ประการ และแนวทางปฏิบัติ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://thaihealthlife.com/พรหมวิหาร4/ [10 พ.ย. 2561]. (กลับที่ดิม)
[ Back ] [ Home ]
You are visitor No.
Since 27 November 2022
.